วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 ครบ 5 ปีเต็มเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 (wikipidia : แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งแปซิฟิกโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 (東北地方太平洋沖地震 โทโฮะกุ ชิโฮ ไทเฮโย-โอะกิ จิชิน)
ภาพประกอบจาก wikipedia
รายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่นแจ้งตัวเลขยอดผู้เสียชีวิตและสูญหายทั้งหมดล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2559 ยอดจำนวนผู้เสียชีวิตและสูญหายรวมเกิน 21,000รายแล้ว แยกตามรายละเอียดต่อไปนี้
จำนวนผู้เสียชีวิต
- จังหวัดมิยาหงิ 9,541 ราย
- จังหวัดอิวะเตะ 4,673 ราย
- จังหวัดฟุคุชิม่า 1,613 ราย
- จังหวัดอิบะระงิ 24 ราย
- จังหวัดชิบะหรือจิบะ 21 ราย
- โตเกียว 7 ราย
- จังหวัดโทจิหงิและคานากาว่า จังหวัดละ 4 ราย
- จังหวัดอะโอโมริ 3 ราย
- จังหวัดยะมะกะตะ 2 ราย
- ฮอกไกโดและจังหวัดกุนมะ พื้นที่ละ 1 ราย
จำนวนผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 15,894ราย จำนวนผู้สูญหายรวมทั้งหมด 2,561 รายและจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ เช่น เสียชีวิตระหว่างอพยพหรือป่วยเสียชีวิต จำนวนรวมถึงเดือนกันยายนปี 2558 รวมทั้งสิ้น 3,407 ราย
*สรุปจนถึงเดือนมีนาคมปี 2559 มีจำนวนผู้เสียชีวิตและสูญหายมากกว่า 21,000 ราย*
คลิปวิดิโอภาพความเปลี่ยนแปลงหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิแล้ว 5 ปี ทาง NHK ได้รวบรวมทำเป็นสกู๊ปพิเศษไว้ให้ชมกันที่นี่ด้วย 動画で見る震災から5年 (5 Years after the Great East Japan Earthquake)
ส่วนสถิติการเกิด after shock ตั้งแต่ปี 2554 (ค.ศ.2011) แรงสั่นสะเทือนตามมาตราวัดญี่ปุ่นที่มากกว่า 1 ชินโดะวัดได้ทั้งหมด 12,077 ครั้ง ช่วงปีหลังๆเกิดขึ้นถี่ปีละประมาณ 615 ครั้งเลยทีเดียว
ภาพล่าสุดที่เพิ่งถูกถ่ายมาวันนี้ 10 มีนาคม 2559 (ภาพถ่ายโดย Topspeedy นักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่น)
สภาพบ้านเมืองของ “เมืองอิชิโนะมะกิ” ที่เคยถูกสึนามิพัดถล่มอย่างรุนแรงเมื่อปีค.ศ 2011 ภาพปัจจุบันที่มีพัฒนาเมืองไปเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีบางจุดที่ยังเหลือซากปรักหักพัง
ภาพเปรียบเทียบปี 2554 (ค.ศ 2011) และปัจจุบันปี 2559 (ค.ศ 2016)
ภาพอื่นๆในเมืองอิชิโนะมะกิ
ภัยพิบัติครั้งรุณแรงที่สุดที่เคยเกิดในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 จนถึงปัจจุบันนี้เป็นปีที่ 5 แล้ว
ทางประเทศญี่ปุ่นยังต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูประเทศและพัฒนาเมือง สภาพจิตใจของผู้ประสบภัยอีกหลายปี
(14.46)
Pingback: ครบ 5 ปี เหตุการณ์แผ่นดินไหว / สึนามิ ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น – Jimmy's Blog