Diary

Culture Shock Japan : ที่นั่งในรถไฟ

จะว่าไปเรื่องความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่นมีมาก แต่ถ้าเราอยู่นานไปบางอย่างอาจจะดูเป็นเรื่องปกติ เพราะเราจะถูกกลืนไปในวัฒนธรรมแบบนั้นโดยไม่รู้ตัว
ตอนที่เขียนเรื่องนี้ก็อยู่ญี่ปุ่นมาจะ 10ปีแล้ว บางเรื่องต้องได้ฟังจากเพื่อน ครอบครัวหรือคนรู้จักที่มาแวะมาเที่ยวญี่ปุ่น ทำให้เรานึกขึ้นได้ว่า …
 “เอ่อ จริง บ้านเราไม่เห็นเป็นแบบนี้”
“ใช่เนอะ ทำไมคนญี่ปุ่นเป็นแบบนี้”
“เอ๊ะ แล้วบ้านเราหละเป็นยังไง”
บางเรื่องฟังแล้วก็ตลก มันแปลกยังไงเค้าก็เป็นกันแบบนี้หนินา

ส่วนใหญ่เราจะเอาเรื่องรอบๆตัวมาพูดคุยกับนักเรียนในคลาส เพื่อการแลกเปลี่ยนล่าสุดเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมากับนักเรียน 2-3คลาส คือเรื่อง Priority Seat หรือ Courtesy Seat = ที่นั่งพิเศษสำหรับคนท้อง คนชรา คนพิการและคนที่มาพร้อมเด็กอ่อน

บุคคลเหล่านี้จะได้รับการเอื้อเฟื้อและลุกให้นั่งเมื่อขึ้นมาบนรถไฟ อาจจะแตกต่างจากเมืองไทยตรงไม่มีที่นั่งพระภิกษุสงฆ์
Uploaded from the Photobucket iPhone App

ที่นั่งพิเศษแบบนี้จะมีอยู่ตรงหัวและท้ายของทุกตู้ในรถไฟญี่ปุ่นและมีในทุกขบวน

  • มารยาทโดยทั่วไปคือเมื่อยืนอยู่ที่ด้านหน้าที่นั่ง Priority Seat หรือ Courtesy Seat จะปิดโทรศัพท์มือถือ
  • เมื่ออยู่ใกล้ที่นั่ง Priority Seat หรือ Courtesy Seat จะใช้ระบบ manner mode คือปิดเสียงโทรศัพท์หรือเปิดเป็นระบบสั่น
  • งดคุยโทรศัพท์ตลอดการอยู่ในรถไฟ

Uploaded from the Photobucket iPhone App

เรื่องที่แปลกมันอยู่ตรงที่ … ที่นั่งธรรมดานี่หละ

หลายต่อหลายครั้งที่เห็นจนเป็นเรื่องปกติ แต่ก็อดถามความเห็นคนญี่ปุ่นไม่ได้ว่า ถ้าไม่ใช่ที่ Priority Seat หรือ Courtesy Seat คุณจะลุกให้ผู้หญิงท้อง คนแก่ และเด็กมั้ย?

เหมือนคำตอบจะอยู่ในคำถาม เกือบร้อยละเก้าสิบตอบว่า “ทำไมเค้าไม่ไปที่ที่นั่งพิเศษหละ” (ที่นั่งธรรมดาไม่จำเป็นต้องลุกให้นั่งก็ได้นะ)

มีเหตุผล… เรื่องการแยกที่นั่งเป็นสัดส่วนก็ถูกของเค้า(สำหรับคนคิดแบบนี้ก็ไม่ผิด แต่อยู่ที่ความมีน้ำใจ)

คำถามที่สอง ไม่เอาผู้หญิงท้อง คนแก่และเด็ก เราเปลี่ยนเป็น “ถ้าผู้หญิงเดินขึ้นรถไฟมา คุณจะลุกให้นั่งมั้ย”

ได้คำตอบว่า “ถ้าผู้หญิงธรรมดา ไม่ลุกให้นั่ง (นอกจากดูแล้วเห็นว่าป่วย จะเป็นลม หมดแรง ไม่ไหว ก็จะลุกให้นั่ง)

นอกนั้น ฉันก็จะนั่งต่อไป ไม่สนใจผู้หญิงที่ยืนอยู่ตรงหน้า

ยังมีเหตุผลเหล่านี้อีก : เช่น ผู้ชายทำงานมาเหนื่อยมากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตอนเลิกงานนั่งรถไฟกลับบ้านก็อยากนั่งบ้าง ได้พักบนรถไฟ สมัยนี้ผู้หญิงเข้มแข็งขึ้นดูแลตัวเองได้แล้วก็ไม่ต่างจากผู้ชาย (หมายถึงแค่ยืนบนรถไฟก็น่าจะทำได้) หรือเหตุผลที่ว่า พอลุกให้นั่งผู้หญิงหรือคนแก่ก็ไม่นั่ง ทำให้เค้ารู้สึกอาย ทำให้ไม่แน่ใจว่าจะลุกให้นั่งดีรึเปล่า คนแก่บางคนก็หาว่า ไปดูถูกเค้าว่าแก่อีก (เป็นงั้นไป)

ในคำถาม เราไม่ได้ถามนักเรียนผู้หญิงว่า ในกรณีเป็นคนแก่และเด็ก จะลุกให้นั่งมั้ย จึงยังไม่มีคำตอบ แต่ก็พอเดาได้ ^-^;

 

Uploaded from the Photobucket iPhone App

เราเคยสอนนักเรียนไปว่า คนไทยมีน้ำใจต่อสตรี คนชราและเด็กเสมอ ทุกครั้งที่ขึ้นรถไฟเค้าก็จะลุกให้นั่ง

แต่นักเรียนเรา ไม่ใช่ไม่เคยไปเมืองไทย คำตอบที่ได้ฟัง เราได้แต่คิดว่า คนไทยคงจะเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่ทำ แต่เราก็พูดไม่ได้เต็มปากแล้วว่า คนไทยลุกให้ผู้หญิง คนชรา และเด็กนั่ง …เสมอ

2 Comments

2 Comments

  1. เอกชมไทย

    July 8, 2012 at 5:22 am

    ชอบเรื่องนี้มากครับ

    • Katto

      July 9, 2012 at 10:46 pm

      ขอบคุณจ้าาาาา ดีใจที่แวะมาอ่านนะจ้ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

To Top