TIPS & HOW TO

東京1960: ย้อนยุคไปดูภาพ Tokyo 1960 จากช่างภาพญี่ปุ่นห้าคน

เป็นวันหยุดที่ออกไปเดินเล่นที่กินซ่า (Ginza) มาตามซอกซอยเดินไปเจอแบบบังเอิญๆคือ แกลอรี่เล็กๆห้องเดียวแสดงภาพถ่ายซึ่งช่วงนี้กำลังแสดงภาพถ่ายของช่างภาพญี่ปุ่นห้าท่าน เกี่ยวกับเรื่องของ “โตเกียวในช่วงปี 1960”

ใช้ชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า “東京1960”

 photo 753EB7B1-05E9-42B1-94C0-76B974CF083C.jpg

ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันที่ผ่านมาเป็นวันโชวะ (29 เมษายนของทุกปี) รวมอยู่ในวันหยุดยาวของประเทศญี่ปุ่นหรือ Golden week  เราได้พูดถึงไปบ้างแล้วเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าเป็นยุคพลิกประเทศเปลี่ยนไปเกือบหมดทุกอย่างรวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศ หลังหมดยุคสงครามที่เลวร้าย
ประเทศญี่ปุ่นก้าวใหม่และการตั้งหน้าตั้งตารอการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนที่โตเกียวในปี 1964 การเปลี่ยนไปของบ้านเมือง ถนนหนทาง และแฟชั่น รวมถึงความเป็นอยู่ เบบี้บูม อะไรต่างๆนานา เป็นช่วงเวลาที่น่าศึกษา “ความเป็นโตเกียวดั้งเดิม” ในช่วงนี้มากๆ

 photo t1960_main_01.png

ภายในแกลอรี่ แน่นอนว่าห้ามถ่ายรูป จะบอกเล่าให้ฟังคร่าวๆ เท่าที่ยังพอจำได้ เพราะหนึ่งรูปที่จัดแสดงก็จะมีการเขียนอธิบายไว้ยาวเหมือนกัน
จากโปสเตอร์และโปสการ์ดมีสามรูปจะอธิบายไปตามรูปนะ

 photo 3B09949F-79E9-447B-882E-3958C5600FAC.jpg

ผลงานภาพภ่ายจากช่างภาพญี่ปุ่นชื่อดังทั้ง 5 ท่าน

  • Kiyoshi Sonobe
  • Shigeichi Nagano
  • Takeyoshi Tanuma
  • Keisuke Kumakiri
  • Keiichi Kimura

 

รูปกลางรูปใหญ่สุด หรือรูปบนสุดจากโปสการ์ด

 photo 61F2CAA6-0910-4B8B-BB17-AB1E5BFB33BD.jpg

เป็นแยกที่เรียกว่า Sukiyabashi แน่นอนว่าชื่อนี้เริ่มกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา เยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 23-25 เมษายนปี 2557 แล้วไปทานซูชิร้านดังของลุงจิโร่ ร้านของลุงจิโร่นั้นตั้งอยู่ใกล้แยก Sukiyabashi ชื่อร้านเต็มๆจึงใช้ชื่อว่า Sukiyabashi Jiro เป็นร้านซูชิที่ได้รับสามดาวมิชลิน

ตรงแยกนั้นจะเห็นมีตึกโซนี่ค่ะ แต่ภาพของวันนี้ปี 2014 เปลี่ยนไป …

 photo DSC_5419.jpg

สไปเดอร์แมนไม่เกี่ยว (T_____T) เค้ามาโฆษณาหนังพอดี เดี๋ยวจะหาว่าปี 2014 มียอดมนุษย์บุกโตเกียว

ภาพที่สองและสาม
ภาพซ้ายมือ กล่าวถึง ธุรกิจรถยนต์ที่ฟูเฟื่องเป็นอย่างมากในยุคนั้น กลุ่มคนวัยรุ่นก็สามารถซื้อรถมาใช้เพื่อการเดินทางได้แล้วซึ่งเป็นรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศญี่ปุ่นเอง
ภาพด้านขวา กล่าวถึง ห้างสรรพสินค้าที่เพิ่งเปิดใหม่ใจกลาง Ginza ย่าน shopping ชื่อดังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามคนเบียดกันเข้าห้างแบบในภาพ …

 photo F5712598-A10C-4D25-84CB-D17805EF5EAE.jpg

จาก blog ที่เคยกล่าวถึงเรื่องห้างสรรพสินค้าในยุคนั้นของย่านกินซ่าที่เพิ่งปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว “Matsuzakaya GINZA”
ห้างนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 88ปี ซึ่งย้อนกลับไปเมื่อ 80กว่าปีก่อนย่านกินซ่าแห่งนี้มีห้างสรรพสินค้าแห่งแรกเกิดขึ้นเป็นตึกสูงใหญ่เพียบพร้อมไปด้วยสินค้านานาชนิด ทั้งสินค้านำเข้าและบริการต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเมือง ยุคนี้เลยที่บอกว่าหลายอย่างได้เปลี่ยนไปจากวิถีชีวิตเดิมๆ

อะไรที่ดูแปลก …

  • ห้างมัตทสึซะกะยะ เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรก ที่มาเปิดให้บริการย่านกินซ่าตั้งแต่ปี 1924
  • ห้างมัตทสึซะกะยะ เป็นห้างแรกในประเทศญี่ปุ่นที่พร้อมให้ใส่รองเท้าเข้าห้างเดินซื้อของจับจ่ายสินค้า สมัยก่อนการถอดรองเท้าเข้าร้านค้าถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่ควรทำ
  • ห้างมัตทสึซะกะยะ มีศูนย์รวมความงาม หรือที่เราคุ้นกันในชื่อปัจจุบันว่า เอสเต้ หรือ สปา ที่นี่เริ่มมีการนำสปาเข้ามาเปิดใช้บริการและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสมัยนั้น

นี่แค่เรื่องของห้างสรรพสินค้า ถ้าแฟชั่นหละ แน่นอนการใส่ชุดกระโปรงสมัยนิยม รองเท้าส้นสูงที่เดินแล้วติดร่อง แฟชั่นการใส่หมวก โตเกียวทาวเวอร์ศูนย์รวมจิตใจของคนโตเกียวหลังหมดช่วงสงครามที่แสดงให้เห็นถึงพลังความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ยุคของเบบี้บูม ผลิตประชากรเนื่องจากสงครามทำให้ประชากรของญี่ปุ่นนั้นลดน้อยลง ผ่านยุคเบบี้บูม ก็แต่งงานบูม คนญี่ปุ่นนิยมแต่งงานเร็วขึ้น

และ ร้านเหล้า ผับ ที่ให้บริการความบันเทิง โชว์แบบเปิดเผย (ช่วงบนนะ อันนี้มีภาพถ่ายให้ดูด้วยหละ) เจ้าของกิจการบอกว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากมีแขกเข้าใช้บริการคึกคักตลอด

การเพิ่มถนน ทางด่วน และการผลิตชินกังเซน

ถ้าศึกษากันให้ดี “โตเกียวเปลี่ยนแปลง” เริ่มจากตรงนี้หละค่ะ

 

A day in Tokyo, Japan, in 1963 東京

ยังแนะนำเหมือนเคยหนังเรื่อง Always ทั้งสามตอน ดูแล้วจะได้ความรู้สึก บรรยากาศเก่าๆของชาวเอโดะ หรือ คนโตเกียวในยุคข้าวยากหมากแพง หลังสงครามอันโหดร้าย จนมาเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าอันดับต้นๆของโลก ….

Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

To Top